หลังจากปี 2013 ที่เขียนไปเรื่องที่ว่าระบบพลังงานของรถยนต์ไฟฟ้าน่าจะมี 2 ชนิดคือ Internal กับ External Source เนื่องจากการลดขนาด Internal Battery Pack และทำให้รถสามารถรับ External Battery Pack ได้ในกรณีที่ต้องการเพิ่มความจุแบตเตอรี่ช่วงเวลานึง จะเป็นการประหยัดพลังงานในการเดินทาง และประหยัดทรัพยากรโดยรวมของระบบ ในขณะเดียวกันก็สามารถ utilize การใช้งานแบตเตอรี่ได้มากขึ้น แต่จนถึงปี 2021 นี้ก็ยังไม่เห็นว่ามียี่ห้อใดเริ่มทำพลังงาน 2 ระบบที่ว่า อาจจะเป็นเพราะทางเทคนิค และทางธุรกิจผสมกันไป และปัจจัยหลักอีกปัจจัยคือการชาร์จเร็ว ณ ปัจจุบัน ทำได้ง่ายขึ้น คือใช้เวลาเพียง 30 นาทีก็ชาร์จได้ 50%-80% และทรัพยากรในการทำแบตเตอรี่ยังมีเหลือไม่ขาดตลาดแต่อย่างใด ใครมีเงินก็เลือกใช้ความจุมากๆ ได้โดยไม่ต้องคิดมาก
วันนี้หาเวลานั่งเขียนเพิ่มเติมเรื่องประเด็นที่ควรพิจารณาว่าทำไมการให้รถยนต์สามารถรับ External Battery ได้เป็นเรื่องน่าสนใจ มาดูข้อเสียของการมีแบตเตอรี่เกินขนาดไว้ในรถยนต์ไฟฟ้ากัน ตัวอย่างเช่น รถยนต์ขนาดเล็ก ใช้งานปีละ 20,000 km เฉลี่ยวันละ 100 km แต่ใช้ความจุแบตเตอรี่สำหรับ 500 km ซึ่งตัว Battery Pack หนัก 500 กิโลกรัม จะมีข้อเสียดังนี้
- ราคารถแพงขึ้นเนื่องจากแบตเตอรี่ส่วนเกินประมาณ 200,000 บาท
- รถยนต์แบกน้ำหนักแบตเตอรี่ส่วนที่ไม่ได้ใช้งาน 400 กิโลกรัม เคลื่อนที่ทุกวัน เสียเงินไปเปล่าๆ กับการบรรทุกแบตเตอรี่ส่วนเกิน โดยประมาณวันละ 25-50 บาท ปีละประมาณ 5000-10,000 บาท ต่างจากการบรรทุกน้ำมันส่วนเกิน หรือบรรทุกของที่ไม่ได้ใช้ชนิดอื่นอย่างมาก
- การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ จะทำให้ราคารถรุ่นที่ออกมาก่อนตกรุ่นเร็วกว่ารถยนต์สันดาป การใช้เงินกับการสะสมความจุแบตเตอรี่อาจจะไม่คุ้มค่าในระยะยาว
- มองในภาพรวม กรณีที่รถทุกคันมีแบตเตอรี่ส่วนเกินไว้คนละ 40-50 kWh สมมติประเทศไทยในยุคที่มีรถยนต์ไฟฟ้าถึง 1 ล้านคันแสดงว่ามีการผลิตแบตเตอรี่และไม่ถูกใช้งานถึง 50,000 MWh นับเป็นการทำลายทรัพยากรโดยไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม เป็นเพียงการลดความเสี่ยงในการเดินทางเพียงเท่านั้น
ทางแก้และโอกาส
ตัว External Rooftop Power Pack จะทำหน้าที่เป็น Range Extender คือใช้งานเสริมจาก Internal Pack จะช่วยแก้ปัญหาการมีแบตเตอรี่ส่วนเกินนี้ได้ โดยตัว External Pack อาจจะมีน้ำหนักประมาณ 50-150 kg ขึ้นกับชนิดของรถ และการติดตั้งบนแร็คหลังคารถดูจะเป็นคำตอบที่เป็นไปได้ ทั้งทางทฤษฏีและการปฏิบัติ เนื่องจากติดตั้งได้บนรถยนต์เกือบทุกชนิด ทุกยี่ห้อ การยกเปลี่ยนใช้เวลาเพียง 1 นาทีก็สามารถได้ระยะทางเคลื่อนที่อีก 100-200 km และในกรณีที่ intergrated solar cell ในตัวจะทำให้สามารถ self charge ได้ในเวลากลางวันอีกด้วย
ในการใช้งานวันปกติผู้ใช้จะใช้ Internal Pack ตัว External Power Pack จะใช้แค่วันที่เดินทางไกลซึ่งกรณีแบบนี้ผู้ซื้อรถจะซื้อรถในราคาที่ถูกลงและเดินทางได้ประหยัดขึ้น ส่วนวันที่ต้องเดินทางไกลก็ยังใช้รถยนต์ไฟฟ้าได้โดยเลือกได้ว่าจะชาร์จ 30 นาที หรือใช้วิธีเปลี่ยน external power pack ในสถานีที่มีบริการนี้ในเวลา 1 นาที เป็นการให้ทางเลือกกับผู้ใช้งานได้มากขึ้น
ในมุมมองของผู้ใช้งาน หากมีรถให้เลือกว่าสามารถรองรับ external pack ในอนาคตได้ เสมือนกับว่าสามารถอัพเกรดแบตเตอรี่ได้ตลอดเวลา ฟีเจอร์นี้จะดึงดูดผู้ซื้อได้เป็นอย่างมาก
มุมของผู้ผลิตแบตเตอรี่ สามารถนำเสนอแบตเตอรี่ pack สู่ตลาดได้กว้างขึ้น และทำได้รวดเร็วไม่ต้องรอคอยการตลาดของค่ายรถยนต์ ทำให้เดินสานพานการผลิตได้เรียบ leveling เดินเครื่องได้เต็มอัตราตลอดเวลาและได้ประสิทธิภาพ lean และคุ้มทุนได้เร็วขึ้น
มุมของผู้ประกอบการ สามารถเปิดบริการสำรองและส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าท้องถิ่น คู่กับการให้บริการสลับ power pack ได้โดยใช้ข้อได้เปรียบทางต้นทุน On-peak, Off-peak, Solarcell พื้นที่เล็กๆ บนดอยก็สามรถให้บริการนี้ได้ ง่ายกว่าการเปิดบริการปัมพ์น้ำมัน ทั้งยังไม่ต้องมีค่าค่าขนส่งพลังงาน
สำหรับบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า จะขายสินค้าได้ถูกลง ลดความเสี่ยงการเครมแบตเตอรี่ และดึงดูดลูกค้ากลุ่มที่มองเทคโนโลยีอนาคตและกลุ่มที่มองราคาขายต่อ หากมีการวิจัยไว้ล่วงหน้าทำรถยนต์ให้สามารถรองรับ Power Source จาก External Pack ในตอนขับเคลื่อน (Power sync on the fly) อาจจะเป็นการ Charge on the fly หรือเป็นการใช้ External Pack ไปขับเคลื่อนรถยนต์ก็แล้วแต่ความเหมาะสม การวิจัยลักษณะนี้ใช้วิศวะกรเพียง 2 คนระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือนก็สามารถออกแบบได้สำเร็จ ถ้าบริษัทรถยนต์ใดจะวิจัยดู ก็ดูจะเป็นการเตรียมพร้อมที่ไม่เสียเปล่าในวันเวลาข้างหน้าครับ เพราะการมี 4 Win แบบนี้น่าจะเป็นข่าวดีสำหรับทุกคน